คู่มือการใช้งาน WordPress

คู่มือการใช้งาน WordPress

WordPress เป็นระบบเว็บบล็อกที่มีการเพิ่มเนื้อหาของบล็อกได้ 2 แบบคือ

1.เพิ่มรายการของเนื้อหาหน้าเว็บบล็อก(Post)

2.เพิ่มหน้าของเว็บบล็อก(Page)

แต่ทั้ง 2 แบบ จะมีรูปแบบของเมนู และเครื่องมือในการเขียนเนื้อหาที่คล้ายกัน

การเขียนเนื้อหาบล็อก(Write Post) คือ การเพิ่มข้อเขียนที่เป็นเนื้อหาของบล็อก จะแสดงที่ด้านหน้าบล็อก ซึ่งข้อเขียนบล็อกล่าสุดจะแสดงอยู่ด้านบนสุดเสมอ โดยที่

– สามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ (Category)

– เลือกที่จะให้มีการแสดงความคิดเห็นในข้อเขียนหรือไม่ก็ได้ (Discussion)

– สามารถใส่รหัสผ่านเพื่อดูข้อเขียนได้ (Post Password)

– เลือกสถานะของข้อเขียนได้ คือ แบบดูเฉพาะกลุ่ม(Private) หรือแบบโครงร่างคือบันทึกไว้ แต่ยัง

ไม่แสดง(Draft) และแบบบันทึกแล้ว แสดงที่หน้าบล็อกทันที (Published)

– เลือกที่จะให้ข้อเขียนเป็นแบบปักหมุด(Sticky) หรือแบบประกาศได้ (Announcement) โดยต้อง

เปิดให้ Plug-in ตัวนี้ให้ทำงานก่อน

การเพิ่มหน้าบล็อก(Write Page) คือ การเพิ่มหน้าของเว็บบล็อก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มเนื้อหาในแต่ล่ะหน้าของเว็บบล็อก ซึ่งปกติจะเป็นหน้าที่มีเนื้อหา หรือข้อมูลแบบคงที่ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของเนื้อหาบ่อยๆ เช่น หน้า About โดยที่

– เลือกที่จะให้มีการแสดงความคิดเห็นในข้อเขียนหรือไม่ก็ได้ (Discussion)

– สามารถใส่รหัสผ่านเพื่อดูข้อเขียนได้ (Post Password)

– เลือกสถานะของข้อเขียนได้ คือ แบบดูเฉพาะกลุ่ม(Private) หรือแบบโครงร่างคือบันทึกไว้ แต่ยัง

ไม่แสดง (Draft) และแบบบันทึกแล้ว แสดงที่หน้าบล็อกทันที (Published)

 

 

อุปกรณ์ / เครื่องมือในการเขียนบล็อก

1. Post Title หรือ Page Title คือ ช่องสำหรับป้อนชื่อเรื่องของข้อเขียนบล็อก หรือชื่อของหน้าบล็อก

2. Content คือ พื้นที่สำหรับใส่เนื้อหาของข้อเขียนหรือเนื้อหาของหน้าบล็อก โดยจะมีเครื่องมือดังนี้

 

– B หมายถึงทำตัวอักษรให้เป็นแบบตัวหนา

– i หมายถึงทำตัวอักษรให้เป็นแบบตัวเอียง

link หมายถึงทำข้อความให้เป็น Link ไปสู่หน้าเว็บอื่น

delหมายถึงทำตัวอักษรให้เป็นแบบมีขีดขาดกลาง

– ins หมายถึงทำตัวอักษรให้เป็นแบบมีขีดขาดล่าง

– img หมายถึงใส่รูปภาพลงในบล็อก

– ul (Unordered List) หมายถึงการสร้างลิสแบบไม่มีลำดับ โดยใช้เครื่องหมาย

แทนตัวเลข

– ol (Ordered List) หมายถึงการสร้างลิสแบบมีลำดับ

– li หมายถึงการเพิ่มรายการลงในลิส ซึ่งมีการนำไปใช้งานและผลลัธ์ดังรูป

– code หมายถึงการเพิ่ม <code> ลงในบล็อก

– more หมายถึงการใส่ Comment หรือข้อความที่ไม่ต้องการให้ปรากฏลงในบล็อก

การบันทึก ใต้ช่องป้อนเนื้อหาจะมีปุ่มกดสำหรับบันทึกอยู่ 3 ปุ่ม ความแตกต่างคือ

– Save and Continue Editing คือสั่งบันทึกและกลับมาอยู่ที่หน้าป้อนเดิม เพื่อการ

แก้ไข/เพิ่มเติมอีก

– Save สั่งบันทึกเป็นโคร่งร่างแต่ยังไม่แสดงผล (ขึ้นอยู่กับสถานะที่ตั้งในช่อง Post

Status หรือ Page Status)

– Publish สั่งบันทึกและแสดงผลทันที

3. Tags (comma separated list) ช่องสำหรับป้อนคำเฉพาะของเนื้อหาที่เราเขียน เพื่อง่ายต่อการค้นหาสำหรับผู้อ่าน เช่น เนื้อหาที่เราเขียนมีเรื่องที่ข้องกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท word เราก็ใส่คำใน

 

 

ช่อง Tags ว่า word คำๆนี้ก็จะไปปรากฏที่หน้าบล็อก ผู้อ่านที่สนใจเรื่องของ word เมื่อคลิกคำๆนี้ ข้อเขียนบล็อกที่เราใส่คำว่า word ไว้ใน Tags ก็จะแสดงเป็นรายการให้ผู้อ่านนั้นเห็น

4. Upload ช่องสำหรับอัปโหลดไฟล์ จากเครื่องของเรามาเก็บไว้ที่เว็บบล็อกของเราเอง โดยจะมีไฟล์ที่เราได้อัปโหลดไว้ แสดงเป็นรายการให้เห็น ซึ่งสะดวกต่อการเรียกดูไฟล์ เพื่อประกอบเนื้อหาของบล็อก (ชื่อไฟล์ต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)

 

By pp006

ใส่ความเห็น